วันอาทิตย์ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2552

เกณฑ์การถอดแบบสำรวจปริมาณงานและวัสดุก่อสร้าง



เกณฑ์การถอดแบบสำรวจปริมาณงานและวัสดุก่อสร้าง

เพื่อคำนวณราคา ตามหลักวิชาช่าง

1. งานขุดดินฐานรากและถมดิน เผื่อกันดินพังและทำงานสะดวก 30%
2. งานถมวัสดุรองพื้นหรือปรับระดับ เผื่อการยุบตัวเนื่องจากการบดอัดแน่นด้วยแรงคน
2.1 งานถมทราย เผื่อ 25%
2.2 งานถมดิน เผื่อ 25%
2.3 งานถมลูกรัง เผื่อ 25%
2.4 งานถมอิฐหัก เผื่อ 25%
3. งานไม้แบบหล่อคอนกรีต ใช้ปริมาณวัสดุตามเกณฑ์ดังต่อไปนี้
3.1 ไม้แบบหนา 1" เนื้อที่ 1 ตารางเมตร ใช้ไม้ประมาณ 1 ลูกบาศก์ฟุต
3.2 ไม้คร่าวยึดไม้แบบ ใช้ 30% ของปริมาณไม้แบบ
3.3 ไม้ค้ำยันไม้แบบ
3.3.1 ไม้ค้ำยันท้องคานและงานประเภทคานใช้ 1 ต้น/ความยาว 1 เมตร
3.3.2 ไม้ค้ำยันท้องพื้นและงานประเภทพื้นใช้ 1 ต้น/ตารางเมตร
3.4 ตะปูยึดงานไม้แบบใช้ 0.30 กก./ไม้แบบ 1 ตารางเมตร
การลดปริมาณไม้แบบ ไม้คร่าว และไม้ค้ำยัน เนื่องจากใช้งานได้หลายครั้ง
- อาคารชั้นเดียว ลดไม้ 20% ใช้ 80%
- อาคารสองชั้น ลดไม้ 30% ใช้ 70%
- อาคารสามชั้น ลดไม้ 40% ใช้ 60%
- อาคารสี่ชั้นขึ้นไป ลดไม้ 50% ใช้ 50%
4. งานเหล็กเสริมคอนกรีต
4.1 น้ำหนักเหล็กเส้น
4.1.1 เหล็กเส้นกลมผิวเรียบ คุณภาพ SR 24
ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 6 มม. หนัก 0.222 กก./ม.
ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 9 มม. หนัก 0.499 กก./ม.
ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 12 มม. หนัก 0.888 กก./ม.
ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 15 มม. หนัก 1.390 กก./ม.
ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 19 มม. หนัก 2.230 กก./ม.
ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 25 มม. หนัก 3.850 กก./ม.
ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 28 มม. หนัก 4.830 กก./ม.
4.1.2 เหล็กเส้นกลมผิวข้ออ้อย คุณภาพ SD 30, SD 35 และ SD 40
ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 9.5 มม. หนัก 0.556 กก./ม.
ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 12 มม. หนัก 0.888 กก./ม.
ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 16 มม. หนัก 1.580 กก./ม.
ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 20 มม. หนัก 2.470 กก./ม.
ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 25 มม. หนัก 3.850 กก./ม.
ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 28 มม. หนัก 4.830 กก./ม.
4.2 การถอดแบบสำรวจปริมาณเหล็กเสริม
4.2.1 เพื่อการคิดเร็ว คิดเหล็กเสริมทุกชนิดเป็นเส้นตรง โดยไม่ต้องเผื่อความยาวของเหล็กเสริม ที่ต้องทาบต่อ งอปลาย ดัดคอม้า และเหลือเศษสั้นใช้งานไม่ได้ ให้คิดหาปริมาณเหล็กของงานต่าง ๆ ตามเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) เหล็กตะแกรงของฐานราก ให้คิดความยาวของเหล็กเท่ากับความกว้างและความหนาของฐานราก
(2) เหล็กยืนของเสาตอม่อ ปลายเหล็กยืนส่วนที่ดัดงอเป็นมุม 90 เพื่อยึดติดกับเหล็กตะแกรงของฐานราก ให้คิดความยาวประมาณ ? ของความกว้างของฐานราก
(3) เหล็กยืนของเสาให้คิดความยาวเท่ากับความยาวของเสา เหล็กปลอกของเสาให้คิด ความยาวต่อ 1 ปลอกเท่ากับความยาวของเส้นรอบรูปเสา
(4) เหล็กนอนของคานทั้งเหล็กตรงและเหล็กคอม้า ให้คิดความยาวเท่ากับความยาวของคาน
- เหล็กปลอกของคานให้คิดความยาวต่อ 1 ปลอกเท่ากับความยาวของเส้นรอบรูปคาน
(5) เหล็กตะแกรงของพื้นเหล็กตรงและเหล็กคอม้า ให้คิดความยาวเท่ากับความกว้างของพื้น
- เหล็กเสริมพิเศษให้คิดความยาวตามที่กำหนดไว้ในแบบแปลน
(6) เหล็กนอนของบันไดให้คิดความยาวเท่ากับความกว้างของบันได,
เหล็กลูกโซ่ของบันไดให้คิดความยาวเท่ากับความกว้างของลูกนอนและความสูงของลูกตั้ง
(7) เหล็กนอนของเอ็นยึดผนังและบัวใต้หน้าต่าง
ให้คิดความยาวเท่ากับความยาวของเอ็นยึดผนังและบัวใต้หน้าต่าง
- เหล็กลูกโซ่ของเอ็นยึดผนังและบัวใต้หน้าต่างให้คิดความยาวเท่ากับความกว้างของเอ็นยึดผนังและบัวใต้หน้าต่าง
(8) เหล็กยืน เหล็กนอนและเหล็กคอม้าของผนังให้คิดความยาวเท่ากับความสูงและความกว้างของผนัง
- เหล็กเสริมพิเศษของผนังให้คิดความยาวตามที่กำหนดไว้ในแบบแปลน
(9) เหล็กเสริมของงานอื่น ๆ หากคล้ายคลึงกับงานประเภทใดใน (1)-(8) ให้คิดเหมือนประเภทนั้น ๆ หากไม่คล้ายคลึงให้ผู้ถอดแบบสำรวจปริมาณ ประมาณการโดยยึด หลักเกณฑ์ดังกล่าวข้างต้น
4.2.2 เมื่อได้ถอดแบบสำรวจปริมาณเหล็กเสริมตามเกณฑ์ในข้อ 4.2.1 และรวมปริมาณเหล็กเสริมทั้งหมดแล้ว ให้คิดเผื่อเหล็กเสริม เนื่องจากต้องทาบต่อ งอปลาย ดัดคอม้า และเหลือเศษนั้นใช้งานไม่ได้ ของเหล็กเสริม แต่ละขนาดทั้งเหล็กเส้นกลมผิวเรียบ และเหล็กเสริมกลมผิวข้ออ้อย ตามเกณฑ์ต่อไปนี้
เหล็กเสริมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 6 มม. เผื่อ 5%
เหล็กเสริมขนาด เส้นผ่าศูนย์กลาง 9 มม. เผื่อ 7%
เหล็กเสริมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 9.5 มม. เผื่อ 7%
เหล็กเสริมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 12 มม. เผื่อ 9%
เหล็กเสริมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 15 มม. เผื่อ 11%
เหล็กเสริมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 16 มม. เผื่อ 11%
เหล็กเสริมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 19 มม. เผื่อ 13%
เหล็กเสริมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 20 มม. เผื่อ 13%
เหล็กเสริมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 25 มม. เผื่อ 15%
เหล็กเสริมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 28 มม. เผื่อ 15%
4.3 งานผูกเหล็กเสริมใช้ลวดผูกเบอร์ 18 จำนวน 15 กิโลกรัม/เหล็กเสริม 1 เมตริกตัน
5. ปริมาณตะปูของงานประเภท
5.1 งานวางคาน ตง และปูพื้นไม้ ใช้ตะปูประมาณ 1.20 กก./ ตร.ม.
5.2 งานติดตั้งโครงหลังคาไม้ทรงต่าง ๆ
5.2.1 ทรงเพิงแหงน ใช้ตะปูประมาณ 0.20 กก./ ตร.ม.
5.2.2 ทรงจั่ว ใช้ตะปูประมาณ 0.20 กก./ ตร.ม.
5.2.3 ทรงปั้นหยา ใช้ตะปูประมาณ 0.25 กก./ ตร.ม.
5.2.4 ทรงไทย ใช้ตะปูประมาณ 0.30 กก./ ตร.ม.
6. การคิดปริมาณไม้ของงานก่อสร้างส่วนประกอบต่าง ๆ ของอาคารและสิ่งปลูกสร้าง ขนาดหน้าตัดของไม้ตามแบบแปลน ความยาววัดจากแบบโดยเผื่อการทาบต่อ แตกปลายและต้องใช้ไม้ตามความยาวมาตรฐาน ที่มีจำหน่ายในท้องตลาดเป็นเกณฑ์ประกอบ ทั้งนี้ผู้ถอดแบบสำรวจปริมาณต้องใช้ดุลยพินิจให้เหมาะสม
6.1 การคิดปริมาณไม้หน้าตัดเป็นนิ้ว ความยาวเป็นเมตร ให้คูณด้วยตัวคงที่ 0.0228 หน่วยเป็น ลูกบาศก์ฟุต
ตัวอย่าง ไม้ขนาดหน้าตัด 1"x8" ยาว 10 เมตร
คิดเป็นปริมาตร = 1x8x10x0.0228 = 1.824 ลูกบาศก์ฟุต

เกณฑ์การคิดปริมาณวัสดุมวลรวมของส่วนประกอบต่าง ๆ
ของอาคารตามหลักวิชาช่าง

1. ปริมาณวัสดุมวลรวมของงานคอนกรีตส่วนผสมชนิดต่าง ๆ (เผื่อวัสดุเสียหายแล้ว)
1.1 คอนกรีตส่วนผสม 1:3:5 โดยปริมาตร ปริมาณ 1 ลบ.ม. (คอนกรีตหยาบ)
1.1.1 ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ = 260 กก.
1.1.2 ทรายหยาบ = 0.63 ลบ.ม.
1.1.3 หินย่อยหรือกรวด = 1.03 ลบ.ม.
1.2 คอนกรีตส่วนผสม 1:2:4 โดยปริมาตร ปริมาณ 1 ลบ.ม.
1.2.1 ปูนซีเมนต์ ปอร์ดแลนด์ = 343 กก.
1.2.2 ทรายหยาบ = 0.56 ลบ.ม.
1.2.3 หินย่อยหรือกรวด = 1.09 ลบ.ม.
1.3 คอนกรีตส่วนผสม ค.2 ปริมาณ 1 ลบ.ม. (STRENGTH 240 กก./ตร.ซม.)
1.3.1 ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ = 336 กก.
1.3.2 ทรายหยาบ = 0. 60 ลบ.ม.
1.3.3 หินย่อยหรือกรวด = 1.09 ลบ.ม.
1.4 คอนกรีตส่วนผสม ค.3 ปริมาณ 1 ลบ.ม. (STRENGTH 300 กก./ตร.ซม.)
1.4.1 ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ = 360 กก.
1.4.2 ทรายหยาบ = 0.66 ลบ.ม.
1.4.3 หินย่อยหรือกรวด = 0.92 ลบ.ม.
หมายเหตุ คอนกรีตปริมาตร 1 ลบ.ม. ใช้น้ำผสมประมาณ 180 ลิตร

2. ปริมาณวัสดุมวลรวมของงานผนังก่อด้วยวัสดุชนิดต่าง ๆ
2.1 ผนังก่ออิฐดินเผาแท่งตัน (อิฐมอญขนาดแผ่นประมาณ 3.3x8.7x17.5 ซม.)
2.1.1 ก่อหนาครึ่งแผ่นอิฐ เนื้อที่ 1 ตร.ม. (เผื่อวัสดุเสียหายแล้ว)
1. อิฐมอญ = 138 แผ่น
2. ปูนซีเมนต์ผสม = 16 กก.
3. ปูนขาว = 10.29 กก.
4. ทรายหยาบ = 0.050 ลบ.ม.
5. น้ำ = 10 ลิตร
2.1.2 ก่อหนาเต็มแผ่นอิฐ เนื้อที่ 1 ตร.ม. (เผื่อวัสดุเสียหายแล้ว)
1. อิฐมอญ = 276 แผ่น
2. ปูนซีเมนต์ผสม = 34 กก.
3. ปูนขาว = 20.59 กก.
4. ทรายหยาบ = 0.12 ลบ.ม.
5. น้ำ = 20 ลิตร
2.2 ผนังก่อคอนกรีตบล๊อค
2.2.1 ผนังก่อคอนกรีตบล๊อค ขนาด 7.0x19.0x39.0 ซม. (ผนังหนา 7.0 ซม.)
เนื้อที่ 1 ตร.ม. (เผื่อวัสดุเสียหายแล้ว)
1. คอนกรีตบล๊อค = 13 ก้อน
2. ปูนซีเมนต์ = 6.75 กก.
3. ปูนขาว = 3.87 กก.
4. ทรายหยาบ = 0.03 ลบ.ม.
5. น้ำ = 5 ลิตร
2.2.2 ผนังก่อคอนกรีตบล๊อค ขนาด 9.0x19.0x39.0 ซม. (ผนังหนา 9.0 ซม.)
เนื้อที่ 1 ตร.ม (เผื่อวัสดุเสียหายแล้ว)
1. คอนกรีตบล๊อค = 13 ก้อน
2. ปูนซีเมนต์ = 9.47 กก.
3. ปูนขาว = 5.43 กก.
4. ทรายหยาบ = 0.04 ลบ.ม.
5. น้ำ = 5 ลิตร
2.2.3 ผนังก่อคอนกรีตบล๊อคชนิดระบายอากาศ ขนาด 9.0x19.0x39.0 ซม.
เนื้อที่ 1 ตร.ม. (เผื่อวัสดุเสียหายแล้ว)
1. คอนกรีตบล๊อค = 13 ก้อน
2. ปูนซีเมนต์ = 9.47 กก.
3. ปูนขาว = 5.43 กก.
4. ทรายหยาบ = 0.04 ลบ.ม.
5. น้ำ = 5 ลิตร
หมายเหตุ
ก. ปูนก่อส่วนผสมระหว่าง ปูนซีเมนต์ ปูนขาว และทรายหยาบ ในอัตราส่วน 1:1:4 โดยปริมาตรปูนก่อ ปริมาตร 1 ลบ.ม. ใช้วัสดุดังนี้ (เผื่อวัสดุเสียหายแล้ว)
- ปูนซีเมนต์ = 320 กก.
- ปูนขาว = 0.25 ลบ.ม.
- ทรายหยาบ = 1.00 ลบ.ม.
ข. ปูนซีเมนต์ 1 ถุง หนัก 50 กก. ปริมาตรประมาณ 0.038 ลบ.ม.
ค. ปูนขาว 1 ถุง หนักประมาณ 7.7 กก. ปริมาตรประมาณ 0.015 ลบ.ม.
ง. แนวปูนก่อ คิดหนาประมาณ 2.0 - 2.5 ซม.

3. ปริมาณวัสดุมวลรวมของปูนฉาบ
3.1 ปูนฉาบ ส่วนผสมระหว่างปูนซีเมนต์ ปูนขาว และทรายละเอียด ในอัตราส่วน
1 : 1 : 5 โดยปริมาตรปูนฉาบ 1 ลบ.ม. ใช้วัสดุดังนี้ (เผื่อวัสดุเสียหายแล้ว)
3.1.1 ปูนซีเมนต์ผสม = 290 กก.
3.1.2 ปูนขาว = 0.26 กก.
3.1.3 ทรายละเอียด = 1.20 ลบ.ม.
3.2 ปูนฉาบหนาประมาณ 1.5 ซม. ในเนื้อที่ 1 ตร.ม. ใช้วัสดุดังนี้ (เผื่อวัสดุเสียหายแล้ว)
3.2.1 ปูนซีเมนต์ผสม = 20 กก.
3.2.2 ปูนขาว = 7.7 กก.
3.2.3 ทรายละเอียด = 0.03 ลบ.ม.
3.2.4 น้ำ = 3 ลิตร
4. ปริมาณวัสดุของงานฝาชนิดต่าง ๆ
4.1 ไม้ฝาขนาด 1/2"x6" ตีทับเกล็ดตามตั้ง และตีซ้อนเกล็ดตามนอน ทับกัน 1 1/2" คร่าวไม้ขนาด 1 1/2"x3" วางห่างกัน 0.50 ม. (คร่าวทางเดียว)
เนื้อไม้ 1 ม 2 ใช้วัสดุดังนี้ (เผื่อวัสดุเสียหายแล้ว)
4.1.1 ไม้ฝา = 0.725 ลบ.ฟ.
4.1.2 ไม้คร่าว = 0.25 ลบ.ฟ.
4.1.3 ตะปู = 0.15 กก.
4.2 ฝาวัสดุแผ่นสำเร็จรูปชนิดขนาดต่าง ๆ ตีด้านเดียว คร่าวไม้ขนาด 1 1/2"x3" วางห่างกัน 0.40x0.60 ม. (คร่าว 2 ทาง) เนื้อที่ 1 ตร.ม. ใช้วัสดุดังนี้ (เผื่อวัสดุเสียหายแล้ว)
4.2.1 วัสดุแผ่นสำเร็จรูป = 1 ตร.ม.
4.2.2 ไม้คร่าว = 0.48 ลบ.ฟ.
4.2.3 ตะปู = 0.20 กก.
4.3 ฝาวัสดุแผ่นสำเร็จรูปชนิดขนาดต่าง ๆ ตี 2 ด้าน คร่าวไม้ขนาด 1 1/2"x3" วางห่างกัน 0.40x0.60 ม. (คร่าว 2 ทาง ) เนื้อที่ 1 ตร.ม. ใช้วัสดุดังนี้ (เผื่อวัสดุเสียหายแล้ว)
4.3.1 วัสดุแผ่นสำเร็จรูป = 2 ตร.ม.
4.3.2 ไม้คร่าว = 0.48 ลบ.ฟ.
4.3.3 ตะปู = 0.25 กก. หมายเหตุ วัสดุแผ่นสำเร็จรูป เผื่อเสียหายที่ราคาต่อ 1 ม 2 โดยให้เผื่อเสียหายที่ขนาดแผ่นของวัสดุประมาณ 10 %
5. ปริมาตรวัสดุงานฝ้าเพดานชนิดต่าง ๆ
5.1 ฝ้าเพดานวัสดุแผ่นสำเร็จรูปขนาดต่าง ๆ คร่าวไม้ขนาด 1 1/2"x3" วางห่างกัน 0.40x0.60 ม. (คร่าว 2 ทาง)
5.1.1 วัสดุแผ่นสำเร็จรูป = 1 ตร.ม.
5.1.2 ไม้คร่าว = 0.51 ลบ.ฟ.
5.1.3 ตะปู = 0.20 กก.
หมายเหตุ วัสดุแผ่นสำเร็จรูปเผื่อเสียหายที่ราคาต่อ 1 ม 2 โดยให้เผื่อเสียหายที่ขนาดแผ่นของวัสดุประมาณ 10%

5.2 ฝ้าเพดานไม้ขนาด 1/2" ความกว้างขนาดต่าง ๆ คร่าวไม้ขนาด 1 1/2"x3" วางห่างกัน 0.40 ม. (คร่าวทางเดียว)
เนื้อที่ 1 ตร.ม. ใช้วัสดุดังนี้ (เผื่อวัสดุเสียหายแล้ว)
5.2.1 ไม้ฝ้าเพดาน = 0.55 ลบ.ฟ.
5.2.2 ไม้คร่าว = 0.25 ลบ.ฟ.
5.2.3 ตะปู = 0.30 กก.
6. ปริมาณวัสดุของงานปูพื้นและบุผนังด้วยวัสดุแผ่นสำเร็จรูปชนิดขนาดต่าง ๆ ที่มีปูนทรายยึด ปูนทราย ส่วนผสมระหว่างปูนซีเมนต์และทรายหยาบในอัตราส่วน 1: 3 โดยปริมาตร ปริมาณ 1 ลบ.ม. ใช้วัสดุดังนี้ (เผื่อวัสดุเสียหายแล้ว)
- ปูนซีเมนต์ = 400 กก.
- ทรายหยาบ = 0.912 ลบ.ม.
6.1 พื้นปูวัสดุแผ่นสำเร็จรูปขนาดต่าง ๆ (ปูนทรายใช้หนา 5 ซม.) เนื้อที่ 1 ตร.ม. ใช้วัสดุดังนี้
6.1.1 วัสดุแผ่นจำนวนแผ่น = ปริมาณที่ใช้จริงใน 1 ตร.ม. + เผื่อเสียหาย 5%
6.1.2 ปูนซีเมนต์ผสม = 20 กก.
6.1.3 ทรายหยาบ = 0.11 ลบ.ม.
6.1.4 น้ำ = 6 ลิตร
6.2 ผนังบุวัสดุแผ่นสำเร็จรูปชนิดต่าง ๆ (ปูนทรายใช้หนา 3 ซม.) เนื้อที่ 1 ตร.ม. ใช้วัสดุดังนี้
6.2.1 วัสดุแผ่นจำนวนแผ่น = ปริมาณที่ใช้จริงใน 1 ตร.ม. + เผื่อเสียหาย 5%
6.2.2 ปูนซีเมนต์ = 12 กก.
6.2.3 ทรายหยาบ = 0.07 ลบ.ม.
6.2.4 น้ำ = 4 ลิตร
7. ปริมาณวัสดุของงานปูนทราย ปูนทราย ส่วนผสมระหว่างปูนซีเมนต์และทรายหยาบ ในอัตราส่วน 1:3 โดยปริมาตร ปริมาณ 1 ลบ.ม. ใช้วัสดุดังนี้ (เผื่อวัสดุเสียหายแล้ว)
- ปูนซีเมนต์ผสม = 400 กก.
- ทรายหยาบ = 0.912 ลบ.ม.
7.1 ปูนทรายของงานฉาบผิวซีเมนต์ขัดมันและซีเมนต์ขัดหยาบ (หนา 2 มม.) เนื้อที่ 1 ตร.ม. ใช้วัสดุดังนี้
7.1.1 ปูนซีเมนต์ผสม = 11 กก.
7.1.2 ทรายหยาบ = 0.018 ลบ.ม.
7.1.3 ปูนขาว = 7.7 กก.
7.1.4 น้ำ = 3 ลิตร
7.2 ปูนทรายของงานปูนทรายรองพื้น ผนังทรายล้างหรือหินล้าง (หนา 3 ซม.) เนื้อที่ 1 ตร.ม. ใช้วัสดุ ดังนี้
7.2.1 ปูนซีเมนต์ผสม = 12 กก.
7.2.2 ทรายหยาบ = 0.07 ลบ.ม.
7.2.3 น้ำ = 4 ลิตร
7.3 ปูนทรายของงาน ปูนทรายรองพื้น พื้นทรายล้างหรือหินล้างหรือหินขัด หรือแต่งผิวดาดฟ้า (ต้องเอียงลาด) (หนา 5 ซม.) เนื้อที่ 1 ตร.ม. ใช้วัสดุดังนี้
7.3.1 ปูนซีเมนต์ผสม = 20 กก.
7.3.2 ทรายหยาบ = 0.11 ลบ.ม.
7.3.3 น้ำ = 6 ลิตร
ปริมาณวัสดุของงานพื้นไม้ชนิดเข้าลิ้น ความหนา 1" ทุกขนาด ความกว้างเนื้อที่ 1 ตร.ม.
ใช้ไม้ประมาณ = 1.15 ลบ.ฟ. (เผื่อวัสดุเสียหายแล้ว)