วันอาทิตย์ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2552

เกณฑ์การถอดแบบสำรวจปริมาณงานและวัสดุก่อสร้าง



เกณฑ์การถอดแบบสำรวจปริมาณงานและวัสดุก่อสร้าง

เพื่อคำนวณราคา ตามหลักวิชาช่าง

1. งานขุดดินฐานรากและถมดิน เผื่อกันดินพังและทำงานสะดวก 30%
2. งานถมวัสดุรองพื้นหรือปรับระดับ เผื่อการยุบตัวเนื่องจากการบดอัดแน่นด้วยแรงคน
2.1 งานถมทราย เผื่อ 25%
2.2 งานถมดิน เผื่อ 25%
2.3 งานถมลูกรัง เผื่อ 25%
2.4 งานถมอิฐหัก เผื่อ 25%
3. งานไม้แบบหล่อคอนกรีต ใช้ปริมาณวัสดุตามเกณฑ์ดังต่อไปนี้
3.1 ไม้แบบหนา 1" เนื้อที่ 1 ตารางเมตร ใช้ไม้ประมาณ 1 ลูกบาศก์ฟุต
3.2 ไม้คร่าวยึดไม้แบบ ใช้ 30% ของปริมาณไม้แบบ
3.3 ไม้ค้ำยันไม้แบบ
3.3.1 ไม้ค้ำยันท้องคานและงานประเภทคานใช้ 1 ต้น/ความยาว 1 เมตร
3.3.2 ไม้ค้ำยันท้องพื้นและงานประเภทพื้นใช้ 1 ต้น/ตารางเมตร
3.4 ตะปูยึดงานไม้แบบใช้ 0.30 กก./ไม้แบบ 1 ตารางเมตร
การลดปริมาณไม้แบบ ไม้คร่าว และไม้ค้ำยัน เนื่องจากใช้งานได้หลายครั้ง
- อาคารชั้นเดียว ลดไม้ 20% ใช้ 80%
- อาคารสองชั้น ลดไม้ 30% ใช้ 70%
- อาคารสามชั้น ลดไม้ 40% ใช้ 60%
- อาคารสี่ชั้นขึ้นไป ลดไม้ 50% ใช้ 50%
4. งานเหล็กเสริมคอนกรีต
4.1 น้ำหนักเหล็กเส้น
4.1.1 เหล็กเส้นกลมผิวเรียบ คุณภาพ SR 24
ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 6 มม. หนัก 0.222 กก./ม.
ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 9 มม. หนัก 0.499 กก./ม.
ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 12 มม. หนัก 0.888 กก./ม.
ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 15 มม. หนัก 1.390 กก./ม.
ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 19 มม. หนัก 2.230 กก./ม.
ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 25 มม. หนัก 3.850 กก./ม.
ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 28 มม. หนัก 4.830 กก./ม.
4.1.2 เหล็กเส้นกลมผิวข้ออ้อย คุณภาพ SD 30, SD 35 และ SD 40
ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 9.5 มม. หนัก 0.556 กก./ม.
ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 12 มม. หนัก 0.888 กก./ม.
ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 16 มม. หนัก 1.580 กก./ม.
ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 20 มม. หนัก 2.470 กก./ม.
ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 25 มม. หนัก 3.850 กก./ม.
ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 28 มม. หนัก 4.830 กก./ม.
4.2 การถอดแบบสำรวจปริมาณเหล็กเสริม
4.2.1 เพื่อการคิดเร็ว คิดเหล็กเสริมทุกชนิดเป็นเส้นตรง โดยไม่ต้องเผื่อความยาวของเหล็กเสริม ที่ต้องทาบต่อ งอปลาย ดัดคอม้า และเหลือเศษสั้นใช้งานไม่ได้ ให้คิดหาปริมาณเหล็กของงานต่าง ๆ ตามเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) เหล็กตะแกรงของฐานราก ให้คิดความยาวของเหล็กเท่ากับความกว้างและความหนาของฐานราก
(2) เหล็กยืนของเสาตอม่อ ปลายเหล็กยืนส่วนที่ดัดงอเป็นมุม 90 เพื่อยึดติดกับเหล็กตะแกรงของฐานราก ให้คิดความยาวประมาณ ? ของความกว้างของฐานราก
(3) เหล็กยืนของเสาให้คิดความยาวเท่ากับความยาวของเสา เหล็กปลอกของเสาให้คิด ความยาวต่อ 1 ปลอกเท่ากับความยาวของเส้นรอบรูปเสา
(4) เหล็กนอนของคานทั้งเหล็กตรงและเหล็กคอม้า ให้คิดความยาวเท่ากับความยาวของคาน
- เหล็กปลอกของคานให้คิดความยาวต่อ 1 ปลอกเท่ากับความยาวของเส้นรอบรูปคาน
(5) เหล็กตะแกรงของพื้นเหล็กตรงและเหล็กคอม้า ให้คิดความยาวเท่ากับความกว้างของพื้น
- เหล็กเสริมพิเศษให้คิดความยาวตามที่กำหนดไว้ในแบบแปลน
(6) เหล็กนอนของบันไดให้คิดความยาวเท่ากับความกว้างของบันได,
เหล็กลูกโซ่ของบันไดให้คิดความยาวเท่ากับความกว้างของลูกนอนและความสูงของลูกตั้ง
(7) เหล็กนอนของเอ็นยึดผนังและบัวใต้หน้าต่าง
ให้คิดความยาวเท่ากับความยาวของเอ็นยึดผนังและบัวใต้หน้าต่าง
- เหล็กลูกโซ่ของเอ็นยึดผนังและบัวใต้หน้าต่างให้คิดความยาวเท่ากับความกว้างของเอ็นยึดผนังและบัวใต้หน้าต่าง
(8) เหล็กยืน เหล็กนอนและเหล็กคอม้าของผนังให้คิดความยาวเท่ากับความสูงและความกว้างของผนัง
- เหล็กเสริมพิเศษของผนังให้คิดความยาวตามที่กำหนดไว้ในแบบแปลน
(9) เหล็กเสริมของงานอื่น ๆ หากคล้ายคลึงกับงานประเภทใดใน (1)-(8) ให้คิดเหมือนประเภทนั้น ๆ หากไม่คล้ายคลึงให้ผู้ถอดแบบสำรวจปริมาณ ประมาณการโดยยึด หลักเกณฑ์ดังกล่าวข้างต้น
4.2.2 เมื่อได้ถอดแบบสำรวจปริมาณเหล็กเสริมตามเกณฑ์ในข้อ 4.2.1 และรวมปริมาณเหล็กเสริมทั้งหมดแล้ว ให้คิดเผื่อเหล็กเสริม เนื่องจากต้องทาบต่อ งอปลาย ดัดคอม้า และเหลือเศษนั้นใช้งานไม่ได้ ของเหล็กเสริม แต่ละขนาดทั้งเหล็กเส้นกลมผิวเรียบ และเหล็กเสริมกลมผิวข้ออ้อย ตามเกณฑ์ต่อไปนี้
เหล็กเสริมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 6 มม. เผื่อ 5%
เหล็กเสริมขนาด เส้นผ่าศูนย์กลาง 9 มม. เผื่อ 7%
เหล็กเสริมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 9.5 มม. เผื่อ 7%
เหล็กเสริมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 12 มม. เผื่อ 9%
เหล็กเสริมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 15 มม. เผื่อ 11%
เหล็กเสริมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 16 มม. เผื่อ 11%
เหล็กเสริมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 19 มม. เผื่อ 13%
เหล็กเสริมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 20 มม. เผื่อ 13%
เหล็กเสริมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 25 มม. เผื่อ 15%
เหล็กเสริมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 28 มม. เผื่อ 15%
4.3 งานผูกเหล็กเสริมใช้ลวดผูกเบอร์ 18 จำนวน 15 กิโลกรัม/เหล็กเสริม 1 เมตริกตัน
5. ปริมาณตะปูของงานประเภท
5.1 งานวางคาน ตง และปูพื้นไม้ ใช้ตะปูประมาณ 1.20 กก./ ตร.ม.
5.2 งานติดตั้งโครงหลังคาไม้ทรงต่าง ๆ
5.2.1 ทรงเพิงแหงน ใช้ตะปูประมาณ 0.20 กก./ ตร.ม.
5.2.2 ทรงจั่ว ใช้ตะปูประมาณ 0.20 กก./ ตร.ม.
5.2.3 ทรงปั้นหยา ใช้ตะปูประมาณ 0.25 กก./ ตร.ม.
5.2.4 ทรงไทย ใช้ตะปูประมาณ 0.30 กก./ ตร.ม.
6. การคิดปริมาณไม้ของงานก่อสร้างส่วนประกอบต่าง ๆ ของอาคารและสิ่งปลูกสร้าง ขนาดหน้าตัดของไม้ตามแบบแปลน ความยาววัดจากแบบโดยเผื่อการทาบต่อ แตกปลายและต้องใช้ไม้ตามความยาวมาตรฐาน ที่มีจำหน่ายในท้องตลาดเป็นเกณฑ์ประกอบ ทั้งนี้ผู้ถอดแบบสำรวจปริมาณต้องใช้ดุลยพินิจให้เหมาะสม
6.1 การคิดปริมาณไม้หน้าตัดเป็นนิ้ว ความยาวเป็นเมตร ให้คูณด้วยตัวคงที่ 0.0228 หน่วยเป็น ลูกบาศก์ฟุต
ตัวอย่าง ไม้ขนาดหน้าตัด 1"x8" ยาว 10 เมตร
คิดเป็นปริมาตร = 1x8x10x0.0228 = 1.824 ลูกบาศก์ฟุต

เกณฑ์การคิดปริมาณวัสดุมวลรวมของส่วนประกอบต่าง ๆ
ของอาคารตามหลักวิชาช่าง

1. ปริมาณวัสดุมวลรวมของงานคอนกรีตส่วนผสมชนิดต่าง ๆ (เผื่อวัสดุเสียหายแล้ว)
1.1 คอนกรีตส่วนผสม 1:3:5 โดยปริมาตร ปริมาณ 1 ลบ.ม. (คอนกรีตหยาบ)
1.1.1 ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ = 260 กก.
1.1.2 ทรายหยาบ = 0.63 ลบ.ม.
1.1.3 หินย่อยหรือกรวด = 1.03 ลบ.ม.
1.2 คอนกรีตส่วนผสม 1:2:4 โดยปริมาตร ปริมาณ 1 ลบ.ม.
1.2.1 ปูนซีเมนต์ ปอร์ดแลนด์ = 343 กก.
1.2.2 ทรายหยาบ = 0.56 ลบ.ม.
1.2.3 หินย่อยหรือกรวด = 1.09 ลบ.ม.
1.3 คอนกรีตส่วนผสม ค.2 ปริมาณ 1 ลบ.ม. (STRENGTH 240 กก./ตร.ซม.)
1.3.1 ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ = 336 กก.
1.3.2 ทรายหยาบ = 0. 60 ลบ.ม.
1.3.3 หินย่อยหรือกรวด = 1.09 ลบ.ม.
1.4 คอนกรีตส่วนผสม ค.3 ปริมาณ 1 ลบ.ม. (STRENGTH 300 กก./ตร.ซม.)
1.4.1 ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ = 360 กก.
1.4.2 ทรายหยาบ = 0.66 ลบ.ม.
1.4.3 หินย่อยหรือกรวด = 0.92 ลบ.ม.
หมายเหตุ คอนกรีตปริมาตร 1 ลบ.ม. ใช้น้ำผสมประมาณ 180 ลิตร

2. ปริมาณวัสดุมวลรวมของงานผนังก่อด้วยวัสดุชนิดต่าง ๆ
2.1 ผนังก่ออิฐดินเผาแท่งตัน (อิฐมอญขนาดแผ่นประมาณ 3.3x8.7x17.5 ซม.)
2.1.1 ก่อหนาครึ่งแผ่นอิฐ เนื้อที่ 1 ตร.ม. (เผื่อวัสดุเสียหายแล้ว)
1. อิฐมอญ = 138 แผ่น
2. ปูนซีเมนต์ผสม = 16 กก.
3. ปูนขาว = 10.29 กก.
4. ทรายหยาบ = 0.050 ลบ.ม.
5. น้ำ = 10 ลิตร
2.1.2 ก่อหนาเต็มแผ่นอิฐ เนื้อที่ 1 ตร.ม. (เผื่อวัสดุเสียหายแล้ว)
1. อิฐมอญ = 276 แผ่น
2. ปูนซีเมนต์ผสม = 34 กก.
3. ปูนขาว = 20.59 กก.
4. ทรายหยาบ = 0.12 ลบ.ม.
5. น้ำ = 20 ลิตร
2.2 ผนังก่อคอนกรีตบล๊อค
2.2.1 ผนังก่อคอนกรีตบล๊อค ขนาด 7.0x19.0x39.0 ซม. (ผนังหนา 7.0 ซม.)
เนื้อที่ 1 ตร.ม. (เผื่อวัสดุเสียหายแล้ว)
1. คอนกรีตบล๊อค = 13 ก้อน
2. ปูนซีเมนต์ = 6.75 กก.
3. ปูนขาว = 3.87 กก.
4. ทรายหยาบ = 0.03 ลบ.ม.
5. น้ำ = 5 ลิตร
2.2.2 ผนังก่อคอนกรีตบล๊อค ขนาด 9.0x19.0x39.0 ซม. (ผนังหนา 9.0 ซม.)
เนื้อที่ 1 ตร.ม (เผื่อวัสดุเสียหายแล้ว)
1. คอนกรีตบล๊อค = 13 ก้อน
2. ปูนซีเมนต์ = 9.47 กก.
3. ปูนขาว = 5.43 กก.
4. ทรายหยาบ = 0.04 ลบ.ม.
5. น้ำ = 5 ลิตร
2.2.3 ผนังก่อคอนกรีตบล๊อคชนิดระบายอากาศ ขนาด 9.0x19.0x39.0 ซม.
เนื้อที่ 1 ตร.ม. (เผื่อวัสดุเสียหายแล้ว)
1. คอนกรีตบล๊อค = 13 ก้อน
2. ปูนซีเมนต์ = 9.47 กก.
3. ปูนขาว = 5.43 กก.
4. ทรายหยาบ = 0.04 ลบ.ม.
5. น้ำ = 5 ลิตร
หมายเหตุ
ก. ปูนก่อส่วนผสมระหว่าง ปูนซีเมนต์ ปูนขาว และทรายหยาบ ในอัตราส่วน 1:1:4 โดยปริมาตรปูนก่อ ปริมาตร 1 ลบ.ม. ใช้วัสดุดังนี้ (เผื่อวัสดุเสียหายแล้ว)
- ปูนซีเมนต์ = 320 กก.
- ปูนขาว = 0.25 ลบ.ม.
- ทรายหยาบ = 1.00 ลบ.ม.
ข. ปูนซีเมนต์ 1 ถุง หนัก 50 กก. ปริมาตรประมาณ 0.038 ลบ.ม.
ค. ปูนขาว 1 ถุง หนักประมาณ 7.7 กก. ปริมาตรประมาณ 0.015 ลบ.ม.
ง. แนวปูนก่อ คิดหนาประมาณ 2.0 - 2.5 ซม.

3. ปริมาณวัสดุมวลรวมของปูนฉาบ
3.1 ปูนฉาบ ส่วนผสมระหว่างปูนซีเมนต์ ปูนขาว และทรายละเอียด ในอัตราส่วน
1 : 1 : 5 โดยปริมาตรปูนฉาบ 1 ลบ.ม. ใช้วัสดุดังนี้ (เผื่อวัสดุเสียหายแล้ว)
3.1.1 ปูนซีเมนต์ผสม = 290 กก.
3.1.2 ปูนขาว = 0.26 กก.
3.1.3 ทรายละเอียด = 1.20 ลบ.ม.
3.2 ปูนฉาบหนาประมาณ 1.5 ซม. ในเนื้อที่ 1 ตร.ม. ใช้วัสดุดังนี้ (เผื่อวัสดุเสียหายแล้ว)
3.2.1 ปูนซีเมนต์ผสม = 20 กก.
3.2.2 ปูนขาว = 7.7 กก.
3.2.3 ทรายละเอียด = 0.03 ลบ.ม.
3.2.4 น้ำ = 3 ลิตร
4. ปริมาณวัสดุของงานฝาชนิดต่าง ๆ
4.1 ไม้ฝาขนาด 1/2"x6" ตีทับเกล็ดตามตั้ง และตีซ้อนเกล็ดตามนอน ทับกัน 1 1/2" คร่าวไม้ขนาด 1 1/2"x3" วางห่างกัน 0.50 ม. (คร่าวทางเดียว)
เนื้อไม้ 1 ม 2 ใช้วัสดุดังนี้ (เผื่อวัสดุเสียหายแล้ว)
4.1.1 ไม้ฝา = 0.725 ลบ.ฟ.
4.1.2 ไม้คร่าว = 0.25 ลบ.ฟ.
4.1.3 ตะปู = 0.15 กก.
4.2 ฝาวัสดุแผ่นสำเร็จรูปชนิดขนาดต่าง ๆ ตีด้านเดียว คร่าวไม้ขนาด 1 1/2"x3" วางห่างกัน 0.40x0.60 ม. (คร่าว 2 ทาง) เนื้อที่ 1 ตร.ม. ใช้วัสดุดังนี้ (เผื่อวัสดุเสียหายแล้ว)
4.2.1 วัสดุแผ่นสำเร็จรูป = 1 ตร.ม.
4.2.2 ไม้คร่าว = 0.48 ลบ.ฟ.
4.2.3 ตะปู = 0.20 กก.
4.3 ฝาวัสดุแผ่นสำเร็จรูปชนิดขนาดต่าง ๆ ตี 2 ด้าน คร่าวไม้ขนาด 1 1/2"x3" วางห่างกัน 0.40x0.60 ม. (คร่าว 2 ทาง ) เนื้อที่ 1 ตร.ม. ใช้วัสดุดังนี้ (เผื่อวัสดุเสียหายแล้ว)
4.3.1 วัสดุแผ่นสำเร็จรูป = 2 ตร.ม.
4.3.2 ไม้คร่าว = 0.48 ลบ.ฟ.
4.3.3 ตะปู = 0.25 กก. หมายเหตุ วัสดุแผ่นสำเร็จรูป เผื่อเสียหายที่ราคาต่อ 1 ม 2 โดยให้เผื่อเสียหายที่ขนาดแผ่นของวัสดุประมาณ 10 %
5. ปริมาตรวัสดุงานฝ้าเพดานชนิดต่าง ๆ
5.1 ฝ้าเพดานวัสดุแผ่นสำเร็จรูปขนาดต่าง ๆ คร่าวไม้ขนาด 1 1/2"x3" วางห่างกัน 0.40x0.60 ม. (คร่าว 2 ทาง)
5.1.1 วัสดุแผ่นสำเร็จรูป = 1 ตร.ม.
5.1.2 ไม้คร่าว = 0.51 ลบ.ฟ.
5.1.3 ตะปู = 0.20 กก.
หมายเหตุ วัสดุแผ่นสำเร็จรูปเผื่อเสียหายที่ราคาต่อ 1 ม 2 โดยให้เผื่อเสียหายที่ขนาดแผ่นของวัสดุประมาณ 10%

5.2 ฝ้าเพดานไม้ขนาด 1/2" ความกว้างขนาดต่าง ๆ คร่าวไม้ขนาด 1 1/2"x3" วางห่างกัน 0.40 ม. (คร่าวทางเดียว)
เนื้อที่ 1 ตร.ม. ใช้วัสดุดังนี้ (เผื่อวัสดุเสียหายแล้ว)
5.2.1 ไม้ฝ้าเพดาน = 0.55 ลบ.ฟ.
5.2.2 ไม้คร่าว = 0.25 ลบ.ฟ.
5.2.3 ตะปู = 0.30 กก.
6. ปริมาณวัสดุของงานปูพื้นและบุผนังด้วยวัสดุแผ่นสำเร็จรูปชนิดขนาดต่าง ๆ ที่มีปูนทรายยึด ปูนทราย ส่วนผสมระหว่างปูนซีเมนต์และทรายหยาบในอัตราส่วน 1: 3 โดยปริมาตร ปริมาณ 1 ลบ.ม. ใช้วัสดุดังนี้ (เผื่อวัสดุเสียหายแล้ว)
- ปูนซีเมนต์ = 400 กก.
- ทรายหยาบ = 0.912 ลบ.ม.
6.1 พื้นปูวัสดุแผ่นสำเร็จรูปขนาดต่าง ๆ (ปูนทรายใช้หนา 5 ซม.) เนื้อที่ 1 ตร.ม. ใช้วัสดุดังนี้
6.1.1 วัสดุแผ่นจำนวนแผ่น = ปริมาณที่ใช้จริงใน 1 ตร.ม. + เผื่อเสียหาย 5%
6.1.2 ปูนซีเมนต์ผสม = 20 กก.
6.1.3 ทรายหยาบ = 0.11 ลบ.ม.
6.1.4 น้ำ = 6 ลิตร
6.2 ผนังบุวัสดุแผ่นสำเร็จรูปชนิดต่าง ๆ (ปูนทรายใช้หนา 3 ซม.) เนื้อที่ 1 ตร.ม. ใช้วัสดุดังนี้
6.2.1 วัสดุแผ่นจำนวนแผ่น = ปริมาณที่ใช้จริงใน 1 ตร.ม. + เผื่อเสียหาย 5%
6.2.2 ปูนซีเมนต์ = 12 กก.
6.2.3 ทรายหยาบ = 0.07 ลบ.ม.
6.2.4 น้ำ = 4 ลิตร
7. ปริมาณวัสดุของงานปูนทราย ปูนทราย ส่วนผสมระหว่างปูนซีเมนต์และทรายหยาบ ในอัตราส่วน 1:3 โดยปริมาตร ปริมาณ 1 ลบ.ม. ใช้วัสดุดังนี้ (เผื่อวัสดุเสียหายแล้ว)
- ปูนซีเมนต์ผสม = 400 กก.
- ทรายหยาบ = 0.912 ลบ.ม.
7.1 ปูนทรายของงานฉาบผิวซีเมนต์ขัดมันและซีเมนต์ขัดหยาบ (หนา 2 มม.) เนื้อที่ 1 ตร.ม. ใช้วัสดุดังนี้
7.1.1 ปูนซีเมนต์ผสม = 11 กก.
7.1.2 ทรายหยาบ = 0.018 ลบ.ม.
7.1.3 ปูนขาว = 7.7 กก.
7.1.4 น้ำ = 3 ลิตร
7.2 ปูนทรายของงานปูนทรายรองพื้น ผนังทรายล้างหรือหินล้าง (หนา 3 ซม.) เนื้อที่ 1 ตร.ม. ใช้วัสดุ ดังนี้
7.2.1 ปูนซีเมนต์ผสม = 12 กก.
7.2.2 ทรายหยาบ = 0.07 ลบ.ม.
7.2.3 น้ำ = 4 ลิตร
7.3 ปูนทรายของงาน ปูนทรายรองพื้น พื้นทรายล้างหรือหินล้างหรือหินขัด หรือแต่งผิวดาดฟ้า (ต้องเอียงลาด) (หนา 5 ซม.) เนื้อที่ 1 ตร.ม. ใช้วัสดุดังนี้
7.3.1 ปูนซีเมนต์ผสม = 20 กก.
7.3.2 ทรายหยาบ = 0.11 ลบ.ม.
7.3.3 น้ำ = 6 ลิตร
ปริมาณวัสดุของงานพื้นไม้ชนิดเข้าลิ้น ความหนา 1" ทุกขนาด ความกว้างเนื้อที่ 1 ตร.ม.
ใช้ไม้ประมาณ = 1.15 ลบ.ฟ. (เผื่อวัสดุเสียหายแล้ว)

วันศุกร์ที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2552

ราคางาน-ราคากลาง ของส่วนราชการ

งานข้อมูลด้านราคานั้น ในส่วนวัสดุ ไม่ต่างกันมากนัก แต่ในส่วนเรื่องค่าแรงงาน ความสามารถในการทำงานแตกต่างกัน ในส่วนงานที่ต้องการ Safety และ QA/QC สูงนั้น Labor จึงยังคงต้องเป็นเรื่องที่จะต้อง สูงมากขึ้นด้วย Main Contractor มักไปเอาข้อมูล จากส่วนราชการ หรือ ผรม.ท้องถิ่น มาใช้ในการต่อรอง ซึ่งในความจริงนั้น ไม่สามารถทำได้ การพิจารณา Labor Rate ควรดูจากสถิติ แรงงาน ที่สอดคล้องกับความต้องการ 

ตัวอย่าง - งานคอนกรีต เปลือยผิว ค่าใช้จ่ายมักมองไปในส่วนงานไม้แบบ ค่าใช้จ่ายซ่อม-ส่งงาน อาจมากกว่า 10 % ของมูลค่างาน

ด้านล่าง Link มาจากเวบโยธาไทย http://www.yota-thai.net

เกณฑ์การคำนวณราคากลางงานก่อสร้างของราชการ 6 ก.พ.50

หลักเกณฑ์การคำนวณราคากลางงานก่อสร้างของราชการ (ฉบับปรับปรุงใหม่)
ตามมติ ครม. 6 ก.พ. 2550
 

เอกสารที่เผยแพร่โดยกรมบัญชีกลาง

สรุปสาระสำคัญ3.04 MB
แนวทางปฏิบัติและรายละเอียดประกอบ8.98 MB
งานก่อสร้างอาคาร14.4 MB
งานก่อสร้างทาง สะพาน และท่อเหลี่ยม4.85 MB
งานก่อสร้างชลประทาน6.78 MB
สรุปเกณฑ์ราคากลางใหม่ ในรูปแบบ PowerPoint2.82 MB

ตารางคำนวณค่าวัสดุมวลรวม

285 KB
ด่วนที่สุด ที่ นร 0408.5/ว 9244 KB

ข้อมูล Update ่าสุด

ตาราง Factor F อัตราดอกเบี้ย 6 % (ล่าสุด-->ใช้อันนี้) ใหม่
โปรแกรมคำนวณค่า Factor F update (ดอกเบี้ย 6%) F HOT! ใหม่
ตัวอย่างแบบฟอร์มการคำนวณราคากลางงานต่างๆ ใหม่

เอกสารที่เป็นส่วนหนึ่งของ มติ ครม. ที่ไม่ได้เผยแพร่

Operating Cost งานก่อสร้างทาง สะพาน และท่อเหลี่ยม
Operating Cost งานก่อสร้างชลประทาน

ตาราง Factor F อกเบี้ย 7%

ตาราง Factor F อัตราดอกเบี้ย 7% (ถ้าดอกเบี้ยขึ้นเป็น 7% ใช้อันนี้)

ค่าดำเนินการ ค่าเสื่อม ค่าขนส่ง และอัตรางานดิน
กรณีน้ำมันดีเซล  
40-70 บาท

ตารางค่าขนส่งวัสดุก่อสร้างรถ 6 ล้อ น้ำมัน
ตารางค่าขนส่งวัสดุก่อสร้างรถ 10 ล้อ น้ำมัน
ตารางค่าขนส่งวัสดุก่อสร้างรถ 10 ล้อและรถพ่วงน้ำมัน
ตารางค่าดำเนินการและค่าเสื่อมราคา
ตารางอัตราราคางานดินงานก่อสร้างชลประทาน

ค่าแรงงาน

บัญชีค่าแรงงาน/ดำเนินการ ฉบับปรับปรุงใหม่เดือน สิงหาคม 2551

ข้อมูลสนับสนุนการคำนวณราคากลางงานก่อสร้าง

ข้อมูลหลักเกณฑ์การคำนวณราคากลาง กรมบัญชีกลาง
รวม Download ้อมูลเพื่อการทำราคากลาง
ราคาขายปลีกน้ำมันภูมิภาค
ตรวจสอบระยะทาง กรมทางหลวง
ตรวจสอบระยะทาง Google Maps   วิธีใช้งาน Google Maps ใหม่
ตรวจสอบราคาวัสดุก่อสร้าง
เว็บชาวเขื่อน
สำนักบำรุงรักษาและอำนวยความปลอดภัยงานทาง
สำนักทางหลวงชนบทที่ 10
กลุ่มออกแบบและก่อสร้าง สพฐ.


โปรแกรมช่วย Download / โปรแกรมอ่านไฟล์ PDF

คำแนะนำ สำหรับท่านที่โหลดไม่ได้ หรือเปิดแล้วต้องรอนานจนเครื่องแฮงค์
ควรเปิดเว็บไซท์ด้วย 
Firefox นะครับ จะสะดวกกว่า IE 
Download Firefox
 

วันพุธที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

ข้อมูลราคาวัสดุก่อสร้าง 3 ปี


จะรู้ทำไม ข้อมูลเก่าๆ ดูว่า อะไรเกิดขึ้นในอดีต และอะไรจะเกิดขึ้นในอนาคต

ปี 2552 ราคาวัสดุ คงยังนิ่งต่ำกว่า ปี 2551 ที่มีความเคลื่อนไหวรุนแรง โดยเฉพาะราคาเหล็ก น้ำมัน

ปี 2552 ราคาทอง เคลื่อนไหว สูงและแนวโนม้จะต่ำลง
http://italianthai.doubleclickspace.com/ ข้อมูลราคาวัสดุ 2549-2551

วันเสาร์ที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2551

Indirect Cost ทำไมต้องสูงขึ้น


เมื่อปีที่แล้ว เพื่อนผม เสนอราคางาน ใส่ Indirect ไว้แค่ 25 % เพราะถ้าใส่สูงกว่านี้ ก้อจะไม่ได้งาน แต่พอมาทำงานจริง ปรากฎว่า Indirect Cost ขึ้นไปอยู่ที่ 40-45% ของ Direct Cost อะไรเกิดขึ้น และความจริงคืออะไร

งานมีความต้องการ การบริหารงาน แบบ Quality Management หรือ ISO9000-2001 หรือ ISO9000-2008

งานมีความต้องการความใส่ใจ กับสภาวะแวดล้อม สุขภาพและความปลอดภัย ในการทำงานสูงขึ้น


แค่ 2 ส่วนด้านบน ส่งผลกระทบกับ Indirect หลายส่วน

วิศวกร - ซุปเปอร์ไวเซอร์ - เทคนิเชี่ยน ต้องเพิ่มมากขึ้น

รายงานต่างๆ เพิ่มมากขึ้น

งาน Safety Control มีความต้องการสูงขึ้น Safety - Talk Harness / Protection / BS-Scaffolding (http://www.safetythai.com/products/fallprotection.htm) รวมทั้ง บุคลากรด้าน Safety มีใบรับรอง ต้องอบรม คนงานทุกคนที่จะทำงานในส่วนงานเฉพาะ เช่นการทำงานในที่อับอากาศ เพิ่มเติม- กระทบ Unit Cost ของ Direct เพราะอัตาการทำงาน ต่อคนต่อวันลดลง มีการชะงักงัน บางครั้งต้องหยุดรอ จนกว่าจะมีการปรับปรุงแก้ไขเสร็จสิ้น บางหน่วยงาน ที่มีการตรวจแอลกอฮอล์ ถ้ามีคนงาน เผลอมีกลิ่น 1 คน ปรากฎว่า 40 คน ต้องหยุดงานไปด้วยอย่างน้อย 4-5 ชม. หรือมีคนงานเป็นลม ตกนั่งร้าน ตรงนี้ อาจหยุดรอ หรือทำงานได้ไม่เต็มที่ กว่า 2 วัน

แค้มป์ คนงานที่เคยทำอย่างไรก้อได้ ทางเจ้าของงานก้อต้องเข้าไปตรวจสอบ เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี ของแรงงาน ตาม กม.แรงงาน รวมทั้งส่วนที่ต้องเตรียมกับส่วนราชการเช่น ประกันสังคม - ค่าครองชีพ และอื่นๆ
-* - หลายๆ ส่วนต้องการมากขึ้น ทุกอย่างต้องดีถึงดีที่สุด - *-


บางครั้งเรามองแต่แง่มุมของการแข่งขัน จนไม่ได้มองความจริง ว่า Indirect ควรจะอยู่เท่าใด สูงหรือต่ำ ขึ้นอยู่กับความต้องการของงานนั้นๆ บางครั้งจำเป็นที่จะต้องแยกส่วนให้ชัดเจน เพื่อชี้ถึงค่าใช้จ่ายต่างๆ เพราะบางครั้งเจ้าของงาน ต้องการงานถูกๆ แต่คุณภาพ-ข้อกำหนดสูง จนเกิดปัญหาการขาดทุน และมีการโกงแรงงานกันเป็นทอดๆ - เพราะไม่มีเงินเพียงพอที่จะจ่าย หลังจากงานเสร็จไปแล้ว

ทำไม ค่าแรงงาน คอนกรีต อยู่ประมาณ 300-400 มานานกว่า 10 ปี


ผมลองไปดู BOQ เก่าๆ ดู...พบว่า ค่าแรงใน BOQ เหล่านั้น ราคาไม่ขยับปรับขึ้นมาเลย กับงานค่าแรงค่าเครื่องจักร สำหรับงานดินและงานคอนกรีตทั่วไป ทั้งที่...

ค่าแรงขั้นต่ำ ก้อขึ้นมา จาก 95 เป็น 150

ค่าน้ำมัน ขึ้นจาก 15 เป็น 35 ค่าข้าวกล่อง จาก 20 เป็น 25-30

เงินเดือน วิศวกร จบใหม่ จาก 9,500 เป็น 15,000-20,000

ทั้งที่ Unit Cost ในโครงการใหญ่ๆ ที่มีการเก็บข้อมูล ชัดเจนถูกต้อง ปรากฎว่า สูงกว่า Unit Rate ทุกรายการประมาณ 2-3 เท่า ทั้งงานดิน งานผูกเหล็ก งานไม้แบบ ตอนทำราคาประมูล โดยส่วนใหญ่ ใช้วิธีลอกโครงการเก่า มาแทบทั้งสิ้น ถ้าเราลองนำสถิติการทำงาน ต่อคนต่อคิวคอนกรีต หรืองานอื่นๆ แล้วหาหน่วยค่าแรงจริงเราจะพบว่า ราคาค่าแรงสูงใกล้เคียงกับ Unit Cost เท่านั้น แล้วส่วนต่างล่ะ มาจากสาเหตุอะไรบ้าง

1. ความต้องการของหาเรื่องข้อกำหนดต่างๆ QA/QC - Safety

2. Spec เดิม/สูงขึ้น แต่ไม่มีรายการให้เบิก เช่น Corner ของเสาหรือคาน สมัยก่อนมีรายการให้เบิก แต่เดี๋ยวนี้รายการนี้ หายไป เกือบทุกโครงการที่จัดทำ BOQ ขึ้นเป็นส่วนที่ต้องทำและมีค่าใช้จ่าย

3. ความเนียนของงาน บางครั้ง คานเดียว เสาเดียว เก็บมา 3 รอบ ไม่จบไม่เสร็จ ส่งงานไม่ได้

4. คุณภาพของแรงงาน ซึ่งปรากฎว่า แรงงานส่วนใหญ่ไม่มีฝีมือหรือขาดประสพการณ์ ช่างไม้ ตอกตะปูไม่เป็น เลื่อยไม้ไม่เป็น - การคัดเลือก ทำได้ค่อนข้างยาก ซึ่งคนงานที่มีฝีมือ เข้าไปทำงานโรงงาน มากกว่า เพราะมีรายได้ดีกว่า

5. การควบคุมงาน และความเข้าใจงาน องค์ความรู้ - ผมเคยสัมภาษณ์ วิศวกร 5 คน 2-3 คน ใช้เวลานานมาก กับการหา พท. สี่เหลี่ยมด้านไม่เท่า หรือบางคนทำไม่ได้เลย ทั้งที่เป็น เพียงวิชาเรขาคณิต ป3-ป4 เท่านั้น อะไรกำลังเกิดขึ้น กับระบบการศึกษาของไทย แบบ-รายการก่อสร้างส่วนใหญ่เป็นภาษาอังกฤษ คิดอย่างไร ว่า ส่วนการควบคุม-จัดการหน้างาน เข้าใจแบบและรายการประกอบแบบดี ถ้าผู้บริหารจัดการ ไม่มีการตรวจสอบ - ตรวจทาน


ถึงตรงนี้แล้ว ... หน่วยราคาที่เหมาะสม ควรอยู่ที่เท่าใด ถ้ามองในแง่ธุรกิจ คงจะต้องสูงกว่า Unit Cost แต่พอมองในแง่การแข่งขัน ราคาจึงยังคง อยู่แค่ 10-15 ปี ก่อน ในหลายรายการ


วิจารณ์ เพราะ วิศวกรของ ผรม หลายรายยังลอก ของเก่าอยู่ สมัยเรียนก้อลอก มาทำงานก้อลอก จนไม่รู้ว่าความจริงควรเป็นเท่าใด ตรงไหน แล้วเมื่อไหร่จะปรับเปลี่ยนแปลงขึ้น หรือว่า เงินเดือนที่เคยได้รับ เมื่อ 10 ปีก่อน ยังคงอยู่อัตราเดิม ตรงนั้น


วันศุกร์ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2551

เท Lean Concrete ทำไม คิวแค่ 3-4 ร้อย



งานเท Lean Concrete 5 cm เพื่อปรับระดับก่อนการ ทำคอนกรีต Foundation ค่าแรงทำไมแค่ 400 บ/ม3 เฉลี่ยค่าแรง 20 บาท/ม2 ถ้า 600 บ/ม3 ก้อ 30 บ./ม2 ลองไปจ้าง ผรม.ย่อย ปรากฎว่า ต้องยอมที่ 50-60 บ/ม2 ราคาอยู่ที่ 1,000-1,200 บ/ม3 โอย.........มันทำไมแพงกว่าเทคอนกรีตโครงสร้างล่ะ


เพราะงานมันยากมาก แฉะมาก มีน้ำใต้ดินขึ้นมาตลอดเวลา





ปุจฉา-วิสัชนา


  • ค่าแรงเทคอนกรีต พื้น 10 ซม 85 บาท/ม2 (750 บ/ม3)
  • ประกอบด้วย ค่าทำหน้าปูน ปรับระดับ 45 บาท/ม2 ค่าทำระดับ ค่าขนคอนกรีต(กรณีต้องใช้รถเข็นช่วย) ค่าเทเกลี่ยคอนกรีต 40 บาท ค่าอื่นๆ เบิกส่วนงานอื่นๆ ปกติ รายการบดอัด-ปรับระดับดิน ใต้พื้นมักมี รายการจ่ายให้ แต่การบดอัดใต้ฐานรากไม่มีรายการให้เบิก ปกติค่าแรงเทพื้นคอนกรีต 10 ซม จะอยู่ประมาณ 50-75 บาท/ม2 แต่สำหรับงานที่มีข้อกำหนดมาก และอาจมีการหยุดชงัก จากสาเหตุ รองานส่วนอื่นเสร็จ หรือ อื่นๆ ทำให้ราคาที่เพิ่มขึ้น 12-15% เป็นส่วนที่เพิ่มขึ้นน้อยมาก
  • ค่าแรงเทคอนกรีต ถนน 15 ซม 95 บาท/ม2 (633 บ/ม3)
  • ค่าแรงเทคอนกรีต พื้น 20 ซม 120 บาท/ม2 (600 บ/ม3)

ถึงตอนนี้...แล้วค่าเท Lean Concrete ปรับระดับควรเท่าไหร่ หรือเสนอกันใหม่ หน่วยเป็น ตร.ม เพราะงานบางที่มันยากจริงๆครับ แต่มันมูลค่างานน้อยนะครับ ... แล้วมันเป็นความจริงหรือเปล่าว่า Unit Cost มันมากกว่า Unit Rate

Unit Rate Earth Works


หน่วยค่าแรง งานขุดดิน ถม-บดอัดดิน มักเป็นปัญหาสำหรับการทำงานโครงการ เกือบทุกโครงการ เป็นเพราะอะไร ทำไม ต้องมี Backhoe 2 คัน รถดัมพ์ รถบด รถน้ำ ต้องอยู่ อีก 3-4 เดือน ทั้งที่ มีงานเหลือแค่ 3500 ม3 มีมูลค่างานเพียง 3.5 แสนบาท แต่ต้องจ่ายค่าเครื่องจักรงานดิน 5-6 แสนบาท/เดือน ยิ่งอยู่นานยิ่งเจ๊ง

ขุดดิน รอ ผรม.ลงท่อ ไม่มาลง ต้องสูบน้ำรอ ต้องกลัวดินพัง ดินพังลงไป ก้อต้องไปขุดใหม่

ขุดทำ Foundation ตรง Slope ก้อเบิกเงินไม่ได้ ทั้งขุดทั้งบดอัด

งานบดอัด 95% ต้องเทสดิน ก้อรวมค่าใช้จ่ายในงานถมไปแล้ว

งานขุด แค่ 25,000 ม3 แต่ทำไมต้องมี Backhoe มากถึง 5 ตัว รถดัมพ์ 8 คัน รถบด 1 รถน้ำ 1

ถ้าเหลืองาน.... ขุด-ถมเฉลี่ย แค่ 150 ม3/วัน/คัน มีแต่เจ๊งกะเจ๊ง


ตรงนี้ต้องชัดเจนเลยครับ

งานดิน 1 แสนคิว ค่าแรง+เครื่องจักร เฉลี่ย 100 บ./ม3 เท่ากับ 10 ล้าน

แผนเครื่องจักรงานดิน 14-17 ล้าน เอ้าขาดไป 4-7 ล้าน

เอาไปปรับ ใน Unit Rate เพื่อเจรจาที่ 150-175 บาท/คิว ตรงนี้ เลยแพงกว่า ชาวบ้านไป 50-70%

แล้วจะทำไง กะค่าเครื่องจักรที่เกินมา จากแผนเครื่องจักร

แยกออกมา เลยครับตรงนี้ ค่าเครื่องจักร Direct Cost ทั้งหมดเท่าไหร่

สมมุติว่า Direct โครงการ 500 ล้าน มีค่าเครื่องจักร 45 ล้าน ค่าแรง 95 ล้าน

แผนเครื่องจักร 70 ล้าน ส่วนต่าง 25 ล้าน เป็นค่า General Service Equipments

เอาส่วนต่างร่วมวงเจรจาส่วน Direct Cost ด้วย - เพราะเหตุผลที่มีตามแผนและความต้องการใช้เป็นเช่นนั้นจริงๆ แล้ว คงไม่มีใครไม่ยอมรับ เพราะคนส่วนใหญ่ คิดไม่ค่อยต่างกันมาก