วันศุกร์ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2551

เท Lean Concrete ทำไม คิวแค่ 3-4 ร้อย



งานเท Lean Concrete 5 cm เพื่อปรับระดับก่อนการ ทำคอนกรีต Foundation ค่าแรงทำไมแค่ 400 บ/ม3 เฉลี่ยค่าแรง 20 บาท/ม2 ถ้า 600 บ/ม3 ก้อ 30 บ./ม2 ลองไปจ้าง ผรม.ย่อย ปรากฎว่า ต้องยอมที่ 50-60 บ/ม2 ราคาอยู่ที่ 1,000-1,200 บ/ม3 โอย.........มันทำไมแพงกว่าเทคอนกรีตโครงสร้างล่ะ


เพราะงานมันยากมาก แฉะมาก มีน้ำใต้ดินขึ้นมาตลอดเวลา





ปุจฉา-วิสัชนา


  • ค่าแรงเทคอนกรีต พื้น 10 ซม 85 บาท/ม2 (750 บ/ม3)
  • ประกอบด้วย ค่าทำหน้าปูน ปรับระดับ 45 บาท/ม2 ค่าทำระดับ ค่าขนคอนกรีต(กรณีต้องใช้รถเข็นช่วย) ค่าเทเกลี่ยคอนกรีต 40 บาท ค่าอื่นๆ เบิกส่วนงานอื่นๆ ปกติ รายการบดอัด-ปรับระดับดิน ใต้พื้นมักมี รายการจ่ายให้ แต่การบดอัดใต้ฐานรากไม่มีรายการให้เบิก ปกติค่าแรงเทพื้นคอนกรีต 10 ซม จะอยู่ประมาณ 50-75 บาท/ม2 แต่สำหรับงานที่มีข้อกำหนดมาก และอาจมีการหยุดชงัก จากสาเหตุ รองานส่วนอื่นเสร็จ หรือ อื่นๆ ทำให้ราคาที่เพิ่มขึ้น 12-15% เป็นส่วนที่เพิ่มขึ้นน้อยมาก
  • ค่าแรงเทคอนกรีต ถนน 15 ซม 95 บาท/ม2 (633 บ/ม3)
  • ค่าแรงเทคอนกรีต พื้น 20 ซม 120 บาท/ม2 (600 บ/ม3)

ถึงตอนนี้...แล้วค่าเท Lean Concrete ปรับระดับควรเท่าไหร่ หรือเสนอกันใหม่ หน่วยเป็น ตร.ม เพราะงานบางที่มันยากจริงๆครับ แต่มันมูลค่างานน้อยนะครับ ... แล้วมันเป็นความจริงหรือเปล่าว่า Unit Cost มันมากกว่า Unit Rate

Unit Rate Earth Works


หน่วยค่าแรง งานขุดดิน ถม-บดอัดดิน มักเป็นปัญหาสำหรับการทำงานโครงการ เกือบทุกโครงการ เป็นเพราะอะไร ทำไม ต้องมี Backhoe 2 คัน รถดัมพ์ รถบด รถน้ำ ต้องอยู่ อีก 3-4 เดือน ทั้งที่ มีงานเหลือแค่ 3500 ม3 มีมูลค่างานเพียง 3.5 แสนบาท แต่ต้องจ่ายค่าเครื่องจักรงานดิน 5-6 แสนบาท/เดือน ยิ่งอยู่นานยิ่งเจ๊ง

ขุดดิน รอ ผรม.ลงท่อ ไม่มาลง ต้องสูบน้ำรอ ต้องกลัวดินพัง ดินพังลงไป ก้อต้องไปขุดใหม่

ขุดทำ Foundation ตรง Slope ก้อเบิกเงินไม่ได้ ทั้งขุดทั้งบดอัด

งานบดอัด 95% ต้องเทสดิน ก้อรวมค่าใช้จ่ายในงานถมไปแล้ว

งานขุด แค่ 25,000 ม3 แต่ทำไมต้องมี Backhoe มากถึง 5 ตัว รถดัมพ์ 8 คัน รถบด 1 รถน้ำ 1

ถ้าเหลืองาน.... ขุด-ถมเฉลี่ย แค่ 150 ม3/วัน/คัน มีแต่เจ๊งกะเจ๊ง


ตรงนี้ต้องชัดเจนเลยครับ

งานดิน 1 แสนคิว ค่าแรง+เครื่องจักร เฉลี่ย 100 บ./ม3 เท่ากับ 10 ล้าน

แผนเครื่องจักรงานดิน 14-17 ล้าน เอ้าขาดไป 4-7 ล้าน

เอาไปปรับ ใน Unit Rate เพื่อเจรจาที่ 150-175 บาท/คิว ตรงนี้ เลยแพงกว่า ชาวบ้านไป 50-70%

แล้วจะทำไง กะค่าเครื่องจักรที่เกินมา จากแผนเครื่องจักร

แยกออกมา เลยครับตรงนี้ ค่าเครื่องจักร Direct Cost ทั้งหมดเท่าไหร่

สมมุติว่า Direct โครงการ 500 ล้าน มีค่าเครื่องจักร 45 ล้าน ค่าแรง 95 ล้าน

แผนเครื่องจักร 70 ล้าน ส่วนต่าง 25 ล้าน เป็นค่า General Service Equipments

เอาส่วนต่างร่วมวงเจรจาส่วน Direct Cost ด้วย - เพราะเหตุผลที่มีตามแผนและความต้องการใช้เป็นเช่นนั้นจริงๆ แล้ว คงไม่มีใครไม่ยอมรับ เพราะคนส่วนใหญ่ คิดไม่ค่อยต่างกันมาก

Construction Rate for Formworks


ปกติงานไม้แบบ มักหลงลืมคิดอะไรไปหลายๆ ส่วน ซึ่งถ้าเราลองมานั่งนึกถึงขบวนการก่อสร้าง โดยแยกตามลักษณะงาน

1. Sub Structure งานที่ผิวคอนกรีตต้องถูกถม ซึ่งมักไม่ค่อยให้ความเนียนของงานไม้แบบมากนัก
2. Extra Sub Structure งานที่ผิวคอนกรีตต้องถูกถม แต่ทำในระบบ Sheet Pile หรืองานที่มีความลึกมากๆ
3. Super Structure งานที่ต้องการโชว์ผิวคอนกรีต ต้องการความเนียนของงานไม้แบบ และมีความต้องการนั่งร้านและการควบคุมความปลอดภัยที่สูงขึ้น การทำงานเรื่องระบบค้ำยัน กรณีที่เป็นกรอบเฟรม เช่น Pipe Rack หรืองานกำแพงคอนกรีต ที่อาจมีความต้องการงานนั่งร้าน 2 ด้าน
4. Extra Super Structure งานที่ต้องการโชว์ผิวคอนกรีต ซึ่งมีระดับความสูงมาก ทั้งนี้อาจกำหนดว่า สูงกว่า 8 เมตร หรือ 10 เมตร เช่นงาน ปล่องควัน, LNG Tank ที่ต้องการระบบ Formworks พิเศษ หรือต้องการ การใช้นั่งร้านสูง การทำงานยุ่งยาก อัตราการทำงานต่ำ ความต้องการงานด้านความปลอดภัยสูงมาก
ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับงานไม้แบบ
ถ้าเราจะประมาณการค่าแรงงานไม้แบบ นั้นควรคำนึงถึงลักษณะงานที่กล่าวมาด้านบนก่อน การใช้ราคากลางหน่วยค่าแรง ที่ใช้กับงานทั่วไปหรืองานอาคาร อาจจะไม่เหมาะสมกับงานในส่วนโรงงานอุตสาหกรรม ที่มีความต้องการงานอื่นๆ ประกอบด้วย เช่น งาน QA/QC งาน Safety Control ซึ่งมีความต้องการพิเศษสำหรับการทำงานในที่สูง เกิน 3 เมตร ซึ่งจำเป็นต้องมี Safty Harness แล้ว ความต้องการงานนั่งร้านแบบ BS-Standard ซึ่งจะเป็น Extra Cost สำหรับค่าแรงต่อหน่วยด้วย ความยุ่งยากในการทำงาน เมื่อส่วนประกอบไม่สมบูรณ์ตามกฎหรือข้อกำหนดแล้ว จะทำให้เกิดการชงักงัน หยุดงานเป็นช่วงๆ การทำงานไม่ต่อ เนื่อง ซึ่งค่าใช้จ่ายเหล่านี้ยากต่อการบันทึกและประเมิน อะไรบ้างที่เกี่ยวกับค่าแรง
1. ค่าเตรียมแบบ กรณีเป็นไม้และนำมาประกอบ กรณีเป็นแบบเหล็ก กรณีเป็นแบบสำเร็จรูป
2. ค่าติดตั้ง ส่วนนี้รวมถึงค่าเครื่องจักร หรือค่าแรงที่ยกแบบขึ้นมาติดตั้งด้วย
3. ค่านั่งร้านกรณีเป็น เป็นนั่งร้านแบบ BS-Standard อาจต้องเผื่อไว้ 150-200 บาท/ม2
4. ค่าค้ำยัน ขึ้นอยู่กับลักษณะของงาน
5. ค่ารื้อแบบ ส่วนนี้รวมถึงค่าเครื่องจักร หรือค่าแรงที่ยกแบบลงมาด้วย
6. ค่าควบคุมงาน หน้างาน 1 โฟร์แมน : 15 คนงาน
7. ค่าหยุดรองาน - ส่วนนี้จะหลีกเลี่ยงยาก สำหรับงานที่มีความต้องการด้าน QA/QC และ Safety
8. ค่าซ่อมผิวคอนกรีต ซึ่งมักจะโยนความผิดส่วนใหญ่มาให้งานไม้แบบ ปกติ ควรคิดเป็น 5-7 % ของมูลค่างานคอนกรีตโดยรวม กรณีนี้ อาจเกี่ยวข้องกับวัสดุที่นำมาใช้เป็นแบบ ด้วย
ในหลายโครงการขนาดใหญ่ที่มีการเก็บข้อมูล (Cost Control หรือ Cost Engineering) งานที่ทำให้เกิดปัญหาการขาดทุนมากที่สุด มาจาก Unit Cost ของงานไม้แบบสูงมาก ซึ่งบางโครงการอาจสูงถึง 3-4 เท่า เช่นได้ค่าแรงไม้แบบ มา 350-450 บ./ตร.ม (Direct Rate) ซึ่งถ้าเทียบกับงานไม้แบบทั่วไป ซึ่ง ตัวเลข ยังอยู่ที่ประมาณ 200 -270 บ/ตร.ม
ซึ่งกรณี Unit Cost ของงานไม้แบบนั้น คงแจกแจงและทำสถิติ พร้อมข้อมูลประกอบ ทั้งนี้ Unit Rate ของไม้แบบ ไม่ควรต่ำกว่าค่าใช้จ่ายจริงมาก ซึ่งข้อมูล Unit Cost จะมีประโยชน์ สำหรับการเจรจาในขั้นตอนการประมูล ซึ่งสามารถ ประกอบไว้ในการบันทึกถาม ซึ่งผู้เสนอราคาทุกราย จะได้รับข้อมูลที่ตรงกัน และได้หน่วยราคางาน ที่เหมาะสมในการทำงานด้วย ด้วยการเสนอราคาค่าแรงไม้แบบ มักจะใช้วิธี ลอกของเก่าของเดิม ในการเสนอราคา ซึ่งการได้รับการยอมรับ ควรต้องให้ ผรม. ทุกรายมีความเห็นสอดคล้องกัน
แต่อย่างไรก้อตาม วิธีการ ทำงานสามารถช่วยลดค่าใช้จ่ายงานไม้แบบได้มากเช่นเดียวกัน เช่น
  • การหล่อเป็น Precast Concrete
  • การใช้ แบบสำเร็จรูป - เสา กำแพง หรืออื่นๆ
  • การเลือกสรร และการให้การอมรม คนงาน
  • การทำกรีนคัท บริเวณที่ต้องเทคอนกรีต่อเนื่อง เช่น พื้น-กำแพง, คาน-เสา
  • การควบคุมงานที่มีประสิทธิภาพ

ปุจฉา วิสัชนา

ทำไมค่าใช้จ่ายต่างๆ มักลงมาที่งานไม้แบบ การบันทึกค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่ มักทำไปตามลักษณะงาน เพราะค่าแรงงานคอนกรีต จะถูกบันทึกไว้ วันที่มีการเทคอนกรีตเท่านั้น เช่น เทคอนกรีต 450 ม3 ค่าปั้ม 180*450= 81,000 บ. ค่าแรงงาน 40 คน คนละ 250 บาท = 10,000 บาท ค่าแรงทำหน้าคอนกรีตเก็บงาน 10 คน = 2,500 ค่าแรง+วัสดุบ่มคอนกรีต ประมาณ 2,000 บาท ค่าโฟร์แมน+วิศวกร= 4,000 บาท ค่าข้าวพิเศษ กรณีเทจนเย็น หรือ ดึก = 1,500 บ. และอื่นๆ รวมประมาณ 100,000 - 120,000 บ./แมท
ได้ค่าแรงตาม BOQ 350 บ/ม3 = 157,500 บ/แมท
เหลือเป็นส่วนต่าง + 37,500 บาท/แมท
หรือ 10 แมท หรือ 4,500 ม3 หรือ ส่วนต่าง + 375,000 บาท
จ่ายค่า วัสดุซ่อม เทเป็นโพรง 65,000 บาท ค่าแรงซ่อม 20,000 บาท = - 85,000 เหลือส่วนต่าง 290,000 บาท ค่าตอกหน้าลาย ค่าซ่อมผิวทั่วไป เวลาบันทึกค่าใช้จ่าย จะถูกบันทึกเข้าในงานไม้แบบ เพราะงานต่อเนื่องกัน
วิจารณ์ เทคอนกรีต 450 ม3/แมท คนงานจะใช้มากถึง 50 คน/แมท ทั้งที่ใช้ Concrete Pump ?